รากฟันเทียม คืนรอยยิ้มให้คุณอีกครั้ง

รอยยิ้มมีผลต่อความมั่นใจในตนเอง การสูญเสียฟันสามารถบั่นทอนจิตใจและเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การกินและการพูด โชคดีที่ในปัจจุบันเรามีรากฟันเทียมที่สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้

เหมือนฟันจริง ในบทความนี้ เราจะพูดถึงรากฟันเทียม ขั้นตอนการทำ และประโยชน์ต่างๆของรากฟันเทียมกันครับ

ทันตกรรมรากฟันเทียม คืออะไร (Dental Implant)

ทันตกรรมรากฟันเทียม คือ วิธีการปลูกรากเทียมหรือทำรากฟันเทียมทดแทนรากฟันจริง เพื่อให้สามารถมีฟันจริงได้เหมือนเดิม และช่วยเป็นฐานให้แก่ฟันที่สร้างขึ้นมาใหม่ รากฟันเทียมส่วนใหญ่ทำจากไทเทเนียมซึ่งเป็นวัสดุที่เข้ากับร่างกายมนุษย์ได้ดีที่สุด ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับฟันปลอมด้านบนไม่ว่าจะเป็นครอบฟันหรือสะพานฟัน โดยจะสามารถรองรับแรงบดเคี้ยวได้เช่นเดียวกับฟันแท้ตามธรรมชาติ

รากฟันเทียมมีกี่รูปแบบ?

รากฟันเทียมแบบดั้งเดิม

รากฟันเทียมแบบดั้งเดิม (Conventional Implant) คือการทำรากฟันเทียมหลังจากถอนฟันที่มีปัญหาออก และรอให้กระดูกและแผลหายสนิทใช้เวลาประมาณ 3 ถึง 6 เดือน

เมื่อคนไข้แผลหายสนิทแล้วจึงนัดผ่าตัดใส่รากเทียม และรอจนกว่ากระดูกจะยึดติดกับรากฟันเทียม แล้วค่อยใส่ครอบฟันหรือทำสะพานฟันบนรากเทียมนั้น ข้อดีวิธีนี้คือแข็งแรง มั่นคง ข้อเสียคือคือใช้ระยะเวลารักษาค่อนข้างนาน

ทำรากฟันเทียมหลังจากถอนฟันทันที

การทำรากฟันหลังจากถอนฟันทันที (Immediate implant placement) คือการใส่รากฟันเทียมทันทีหลังจากถอนฟันเสร็จเลย จากนั้นรอประมาณ 3-6 เดือน เพื่อให้รากฟันเทียมยึดกับกระดูก แล้วจึงครอบฟันหรือทำสะพาน วิธีนี้ประหยัดเวลามากกว่า แต่ต้องให้ทันตแพทย์เฉพาะทางประเมินสภาพช่องปาก และกระดูกขากรรไกรร่วมด้วย

รากฟันเทียมพร้อมฟันปลอม

การทำรากฟันเทียมพร้อมฟันปลอม (Immediate loaded implant) คือรากฟันเทียมที่ใส่ร่วมกับครอบฟันในครั้งเดียว

วิธีนี้คือวิธีที่รวดเร็วที่สุด ลดขั้นตอนและเวลารักษาได้มาก แต่ก็มีข้อจำกัดมากเช่นกัน เช่น เหมาะกับตำแหน่งฟันหน้าหรือฟันกรามน้อยเท่านั้น สภาพกระดูกขากรรไกรต้องสมบูรณ์ มีกระดูกเพียงพอในการฝังรากเทียม ลักษณะการสบของฟันเหมาะสม ซึ่งต้องให้ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประเมินอย่างละเอียด

การเตรียมตัวสำหรับรากฟันเทียม

  1. รากฟันเทียมเป็นกระบวนการรักษาหลายขั้นตอน จำเป็นต้องมีการวางแผนล่วงหน้าอย่างรอบคอบก่อนที่จะเริ่มขั้นตอนการผ่าตัดการรักษารากฟันเทียมอาจต้องได้รับการพิจารณาจากแพทย์หลายคน เช่น ทันตแพทย์ที่ออกแบบฟันปลอม ทันตแพทย์เฉพาะทางโรคในช่องปาก ศัลยแพทย์ช่องปาก ฯลฯ ขึ้นอยู่กับสภาพช่องปากของแต่ละบุคคล
  2. ทีมแพทย์จะต้องตรวจสอบความพร้อมของคนไข้ตรวจฟันเต็มรูปแบบคือการตรวจช่องปากที่อาจเกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือ เช่น การเอ็กซเรย์ ภาพสามมิติ และแบบจำลองปากและกราม
  3. สอบถามประวัติสุขภาพ ทันตแพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับโรคประจำตัว ยาที่ใช้บ่อย รวมถึงอาหารเสริมต่างๆ ที่ใช้ ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบอย่างครบถ้วน โรคประจำตัวหลายอย่างอาจส่งผลต่อการผ่าตัด เช่น โรคเบาหวาน
  4. วางแผนการรักษา เมื่อได้รับข้อมูลเพียงพอแล้ว ทันตแพทย์จะวางแผนที่เหมาะสมกับแต่ละคนตามปัจจัยต่างๆ เช่น จำนวนฟันที่ต้องการใส่รากฟันเทียม รูปแบบขากรรไกร และโรคประจำตัว เมื่อได้กำหนดนัดหมายแล้วทันตแพทย์จะให้คำแนะนำในการเตรียมตัวก่อนถึงวันผ่าตัด

ขั้นตอนการทำรากฟันเทียม

การทำรากฟันเทียมอาจใช้เวลาในการรักษานานหลายเดือนรวมถึงมีรายละเอียดแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพช่องปากของแต่ละคน โดยขั้นตอนหลักๆ ที่อาจพบได้ มีดังนี้

1. เตรียมพร้อมสำหรับใส่รากฟันเทียม

‍ขั้นตอนนี้จะเป็นการนำฟันซี่ที่เสียหายและไม่สามารถรักษาได้ออก เพื่อเตรียมใส่รากฟันเทียม ทันตแพทย์หรือศัลยแพทย์ช่องปากจะพิจารณาความเหมาะสมถึงว่าสามารถใส่รากฟันเทียมได้เลยหรือไม่ หรืออาจต้องปลูกกระดูกก่อน

2. ปลูกกระดูกเหงือก

สำหรับผู้ที่ศัลยแพทย์ช่องปากประเมินแล้วว่ามีกระดูกสันเหงือกบางเกินกว่าจะใส่รากฟันเทียมได้ อาจต้องทำการปลูกกระดูก (Bone Grafting) ให้แข็งแรงพอก่อนที่จะผ่าตัดใส่รากฟันเทียม

การปลูกกระดูกฟันอาจใช้เวลาหลายเดือนกว่ากระดูกจะโตพอที่จะรองรับรากฟันเทียมได้ แต่บางกรณีที่ต้องปลูกกระดูกเพิ่มเพียงเล็กน้อย อาจทำร่วมกับการผ่าตัดใส่รากฟันเทียมเลยก็ได้

ขั้นตอนนี้มีความสำคัญมาก เพราะหากกระดูกไม่แข็งแรงพอ หลังจากใส่รากฟันเทียมแล้วก็จะไม่สามารถรองรับแรงบดเคี้ยวอาหารได้ และมีโอกาสจะทำให้การรักษาล้มเหลวจนต้องรักษาใหม่

3. ใส่รากฟันเทียม‍

‍เมื่อถึงกำหนดใส่รากฟันเทียม ศัลยแพทย์ช่องปากจะให้ยาชาเฉพาะที่ จากนั้นจะทำการเปิดเหงือกให้เห็นส่วนที่เป็นกระดูก และใส่รากฟันเทียมเข้าไปแทนที่ฟันที่นำออก ช่วงนี้ศัลยแพทย์ช่องปากอาจพิจารณาให้ใส่ฟันปลอมชั่วคราวแบบถอดได้ไปก่อน เพื่อปกปิดช่องว่างไว้จนกว่าจะถึงขั้นตอนต่อไป

‍4. รอให้กระดูกยึดกับรากฟันเทียม

‍เมื่อใส่รากฟันเทียมเข้าไปในกระดูกขากรรไกรแล้ว กระดูกขากรรไกรจะเริ่มกระบวนการเติบโต (Osseointegration) โดยค่อยๆ ยึดเข้ากับรากฟันเทียม กระบวนการนี้อาจจะใช้เวลาตั้งแต่ 6-12 สัปดาห์ หรือนานกว่านี้ จนกว่ากระดูกจะยึดกับรากฟันเทียมได้แข็งแรงพอสำหรับใช้งาน

‍5. ใส่เดือยรองรับฟัน

‍เมื่อกระดูกยึดกับรากฟันเทียมเรียบร้อยแล้ว ศัลยแพทย์ช่องปากจะนัดมาใส่เดือยรองรับฟัน (Implant abutment) เดือยรองรับฟันนี้มีลักษณะคล้ายฟันที่ถูกกรอเมื่อต้องใส่ครอบฟัน มีหน้าที่ไว้สวมฟันปลอมแบบติดแน่นด้านบนนั่นเอง

ขั้นตอนนี้ถือเป็นการผ่าตัดเล็กและมักใช้ยาชาเฉพาะที่ หลังจากใส่เดือยรองรับฟันแล้ว เหงือกของคุณจะใช้เวลาฟื้นตัวประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนที่จะทำการสวมฟันปลอมด้านบน

มีบางกรณีที่ศัลยแพทย์ช่องปากจะติดเดือยรองรับฟันตั้งแต่ตอนที่ใส่รากฟันเทียมเลย แต่ข้อเสียคือทำให้คนอื่นสังเกตเห็นได้ง่ายเมื่ออ้าปาก หลายคนจึงเลือกใส่เดือยรองรับฟันในภายหลัง

‍6. ใส่ฟันปลอมทดแทนฟันที่สูญเสียไป

‍เมื่อรากฟันเทียม และเดือยรองรับฟันเรียบร้อยดีแล้ว ทันตแพทย์จะทำการพิมพ์ช่องปากเพื่อวิเคราะห์การเคลื่อนไหว การกัด จากนั้นนำไปผลิตฟันปลอมเพื่อสวมลงไปบนเดือยรองรับฟันอีกที

โดยฟันปลอมที่ทันตแพทย์ทำอาจมีสีคล้ายฟันธรรมชาติซี่อื่นๆ ในช่องปากเพื่อให้ดูกลมกลืนกับฟันซี่อื่น

Scroll to Top