การอุดฟัน คืออะไร
การอุดฟัน (Dental Filling) คือการใช้วัสดุสังเคราะห์ชนิดต่างๆเติมเข้าไปในส่วนของฟันที่เสียหายจากปัญหาเกี่ยวกับฟันเช่นฟันผุฟันแตกฟันสึกฟันกร่อนฯลฯด้วยเพื่อป้องกันไม่ให้ฟันเกิดอาการผุหรือเนื้อฟันถูกทำลายเพิ่มขึ้นนั่นเอง
วัสดุอุดฟันมี 2 แบบ
แบบวัสดุสีโลหะ
การอุดฟันวัสดุสีโลหะหรือ Amalgam Filling เป็นวัสดุอุดฟันทำมากจากการผสมกันของปรอท เงิน ดีบุก หรือโลหะ ใช้งานง่าย และราคาไม่แพง ส่วนใหญ่แล้วทันตแพทย์จะนำมาใช้กับการอุดฟันกรามมากกว่าเพราะวัสดุนี้มีสีเข้ม มองเห็นสีชัดกว่าการอุดฟันแบบคอมโพสิต จึงไม่เหมาะสำหรับฟันหน้าที่ค่อนข้างเน้นเรื่องความสวยงาม
ข้อดีการอุดฟันวัสดุสีโลหะ
- ราคาไม่แพง
- มีความคงทน แข็งแรงต่อการบดเคี้ยว
- มีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยาก
ข้อเสียการอุดฟันวัสดุสีโลหะ
- มองเห็นสีวัสดุอุดฟันค่อนข้างชัด
- ไม่เหมาะสำหรับฟันหน้าที่ต้องการความสวยงาม
แบบวัสดุสีโลหะ
แบบวัสดุสีเหมือนฟัน
อุดฟันวัสดุเหมือนฟัน
อุดฟันวัสดุสีเหมือนฟันหรือ Resin Composite Filling เป็นการอุดฟันสีเหมือนฟันที่มีความเป็นธรรมชาติ และเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบันมากที่สุด สามารถใช้อุดฟันได้ทั้งฟันหน้าและฟันกรามซึ่งขั้นตอนในการทำนั้นจะค่อนข้างยุ่งยากกว่าแบบโลหะ เนื่องจากจะต้องทำโดยผ่านการฉายแสงเท่านั้น ขั้นแรกจะต้องกรอเนื้อฟันที่ผุออกก่อน แล้วหลังจากนั้นจะทำการใส่วัสดุสีเหมือนฟันเข้าไป ซึ่งขั้นตอนนี้จะทำสลับกับการฉายแสงเพื่อให้วัสดุเกิดการแข็งตัว และหากแข็งตัวแล้วทันแพทย์จะทำการกรอตกแต่งวัสดุอีกครั้งเพื่อตกแต่งฟันให้สวยงาม
ข้อดีการอุดฟันวัสดุสีเหมือนฟัน
- มีความสวยงามเนื่องจากมีสีที่เหมือนฟันธรรมชาติ
- สามารถใช้ได้ทั้งฟันหน้าและฟันกราม
- สามารถใช้งานฟันได้ทันที ไม่ต้องรอ 24 ชั่วโมงเหมือนการอุดฟันแบบโลหะ
- ปลอดภัยเนื่องจากตัววัสดุไม่มีสารปรอทผสม
ข้อเสียการอุดฟันวัสดุสีเหมือนฟัน
- มีราคาสูงกว่าแบบโลหะ
- มีความคงทนน้อยกว่าแบบโลหะ
- ง่ายต่อการเกิดคราบจากชา กาแฟ หรือบุหรี่
อุดฟันเจ็บไหม
การอุดฟันอาจจะสร้างความเจ็บปวดให้กับคนไข้อยู่บ้างจากการฉีดยาชา แต่ในช่วงที่ทำการอุดฟันส่วนใหญ่จะรู้สึกถึงอาการเสียวฟันแต่ไม่ได้รู้สึกเจ็บปวด ยาชานี้จะออกฤทธิ์ประมาณ 2-3 ชั่วโมง แต่หลังจากยาชาหมดฤทธิ์ก็อาจจะมีอาการเจ็บและตึงตามมาได้ โดยทันตแพทย์จะจ่ายยาแก้ปวดให้ เพื่อบรรเทาอาการปวดร่วมด้วยจึงไม่ใช่อาการเจ็บปวดที่ร้ายแรงจนทนไม่ไหวอย่างที่หลายคนคิด
อุดฟันแล้วกินอะไรได้บ้าง?
กรณีอุดด้วยวัสดุอมัลกัม
- ควรหลีกเลี่ยงการบดเคี้ยวอาหารด้านที่อุดฟัน อย่างน้อยในช่วงเวลา 24 ชั่วโมงแรก
- ไม่ควรรับประทานอาหารแข็ง กรอบ หรือเหนียวจัด เพราะจะทำให้วัสดุทีอุดหลุดหรือแตกหักได้
- ในกรณีอาหารติดซอกฟัน ขอแนะนำให้ใช้ไหมขัดฟัน (Dental Floss) หรือแปลงซอกฟัน (Proxa Brush) แทนการใช้ไม้จิ้มฟัน เพราะจะทำให้เหงือกอักเสบได้
- หากพบว่ามีอาการเสียวฟันภายหลังการอุดฟัน เป็นระยะเวลานานกว่า 3 เดือน หรือมีอาการเสียวฟันมากขึ้นเรื่อยๆควรกลับมาพบทันตแพทย์เพื่อทำการตรวจอีกครั้ง
- ควรตรวจเช็คสุขภาพช่องปาก โดยทันตแพทย์ทุก 6 เดือน
กรณีอุดด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน (คอมโพสิต เรซิน)
- สามารถบดเคี้ยวอาหารด้านที่อุดฟันได้เลย ภายหลังการอุดฟัน
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารแข็ง กรอบ หรือเหนียวจัด เช่น กระดูกอ่อน ก้อนน้ำแข็ง
- ควรทำความสะอาดซอกฟันด้วยการใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะกรณีอุดฟันหน้า เพื่อป้องกันไม่ให้วัสดุอุดฟันเปลี่ยนสีไปอย่างรวดเร็วจากการสะสมของคราบอาหาร
- ควรงดอาหารประเภท ชา กาแฟ ช็อกโกแลต การสูบบุหรี่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีส่วนทำให้วัสดุอุดฟันเปลี่ยนสีไปอย่างรวดเร็ว